ถ่านไฟฉายมีกี่ชนิด กี่ขนาด การใช้ถ่าน และวิธีการทิ้งที่ถูกต้อง

ของใช้ในโรงแรม อุปกรณ์ในโรงแรม ครบวงจร

ถ่านไฟฉายมีกี่ชนิด กี่ขนาด การใช้ถ่าน และวิธีการทิ้งที่ถูกต้อง

ถ่านไฟฉายมีกี่ชนิด กี่ขนาด การใช้ถ่าน และวิธีการทิ้งที่ถูกต้อง

ถ่านไฟฉายมีกี่ชนิด กี่ขนาด การใช้ถ่าน และวิธีการทิ้งที่ถูกต้อง

ถ่านไฟฉายมีกี่ชนิด

แบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉาย เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดพลังงานไฟฟ้าตัวเอง เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีที่บรรจุอยู่ภายในตัวแบตเตอรี่นั่นๆ พลังงานไฟฟ้าที่ได้คือ ไฟฟ้ากระแสตรง ทำให้นิยมนำไปใช้ประโยชน์กับอุปกรณ์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กสามารถพกพาได้ เช่น ไฟฉาย หรือ ไฟฉายติดผนัง นาฬิกา เครื่องคิดเลข กล้องถ่ายรูป ของเล่นสำหรับเด็ก เป็นต้น

แล้วถ่านไฟฉายมีกี่ชนิดกันครับ

  1. ถ่านไฟฉายประเภทชนิดคาบอน-สังกะสี ถ่านประเภทนี้ใช้กันมายาวนานตั้งแต่ปี 2443 ให้กระแสไฟฟ้าโดยปฏิกิริยาทางเคมีซึ่งมีสังกะสีเป็นขั้วลบ ส่วนขั้วบวกเป็นผลผสมของแมงกานีสไดออกไซด์กับวัสดุอื่นๆ เป็นถ่านไฟฉายที่มีอายุการใช้งานสั้น และให้กระแสไฟฟ้าน้อยมักจะเสื่อมสภาพได้โดยง่าย แต่ข้อดีคือ หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง
  2. แบตเตอรี่ชนิดอัลคาไลน์ พัฒนาเพื่อใช้กับงานที่ต้องการกระแสไฟฟ้าสูง ถ่านไฟฉายชนิดนี้จะมีอายุการใช้งานเป็น 10 เท่าของถ่านไฟฉายธรรมดา เวลาพลังงานที่มีใกล้จะหมด มันจะค่อยๆ หรี่ลงทีละนิดๆ ทำให้เรารู้ได้ว่าใกล้เวลาที่แบตเตอรี่จะหมดแล้ว แต่ข้อเสียคืออัลคาไลน์ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในบริเวณที่อากาศ หนาวเย็น
  3. 3. แบตเตอรี่ชนิดปรอทออกไซด์ แบตเตอรี่ชนิดสังกะสีกับปรอทออกไซด์ให้ระดับพลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่แบบคาร์บอน-สังกะสี และแบบเตอรี่แบบอัลคาไลน์ นอกจากนี้ ร้อยละ 80-90 ของสารต่างๆ ที่บรรจุในแบเตอรี่ชนิดนี้จะทำปฏิกิริยาให้พลังงานไฟฟ้าได้ตลอดอายุขัยของแบตเตอรี่
  4. แบตเตอรี่ชนิดเงินออกไซด์ มีคุณสมบัติเหมือนแบตเตอรี่ชนิดปรอทออกไซด์ แต่สามารถทำงานได้ในอุณหภูมิต่ำได้ดีกว่าและให้ความต่างศักย์สูงถึง 1.5 โวลต์ (ปรอทออกไซด์ให้ 1.35 โวลต์) เนื่องจากมีราคาที่ค่อนข้างสูง จึงมีผลิตเป็นแบบเม็ดกระดุมเท่านั้น
  5. แบตเตอรี่ชนิดลิเธียม โดยทงทฤษฎีธาตุลิเทียม มีระดับพลังงานสูงที่สุด เมื่อเทียบกับโลหะอื่นๆ ดังนั้แบตเตอรี่ที่ใช้กระแสไฟฟ้า โดยปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างขั้วคาโทดที่เป็นลิเธียม กับคาโทดอะรก็ตามจะเป็นแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานนานที่สุด น้ำหนักเบา และสามารถใช้ในสภาพอากาศหนาวเย็นมากๆ ถึงขนาดติดลบได้โดยประสิทธิภาพแทบจะไม่ลดลงเลย แต่ลิเธียมก็มีราคาแพงกว่าอัลคาไลน์พอสมควร และเมื่อใช้จนแบตเตอรี่หมดแล้วมันก็จะดับทันทีโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้าเลย
  6. แบตเตอรี่ชนิดอัดไฟซ้ำได้ (ชนิดนิเกิล-แคดเมียม) ผลิตออกมาเหมือนถ่านไฟฉายทั่วไป ราคาอาจจะดูแพงหากซื้อในครั้งแรก แต่ในระยะยาวแล้วจะคุ้มกว่ามาก เพราะสามารถรีชาร์จใหม่ได้หลายครั้งมาก บางก้อนอาจจะรีชาร์จใหม่ได้นับ 1,000 ครั้ง แต่ว่าในการชาร์จแต่ละครั้งก็อาจไม่สามารถใช้งานได้นานเท่าอัลคาไลน์หนึ่ง ก้อน และบางครั้งประสิทธิภาพอาจจะลดหย่อนไปบ้างในการชาร์จแต่ละครั้ง แต่ก็มีอายุการใช้งานยืนยาวมาก ในปัจจุบันมีเครื่องชาร์จพลังแสงอาทิตย์ที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาจำหน่าย แล้ว ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการนำติดตัวไปเที่ยวด้วย

ถ่านไฟฉายที่นิยมใช้กันในบ้านเรามีหลายขนาดด้วยกัน ได้แก่

  •  D เป็นถ่านไฟฉาย ขนาดใหญ่สุด เส้นผ่าศูนย์กลาง x ความสูง คือ 33 x 60 ม.ม.
  • C เรียกว่า ขนาดกลาง มีขนาด 25.8 x 50 ม.ม.
  • AA ขนาดเล็ก มีขนาด 1.5 – 14.5 x 51 ม.ม.
  • AAA ขนาดเล็กจิ๋ว มีขนาด 10.5 x 44.5 ม.ม.
  • AAAA ขนาดเล็กจิ๋วหลิว หาซื้อยากและมีราคาแพง มีขนาด 8.3 x 2.5 ม.ม.

ถ่านไฟฉายชนิดพิเศษผลิตออกมาเพื่อความสะดวกกับสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ และเก็บประจุไว้ได้นาน เช่น ถ่านไฟฉาย “เฮฟวีดิวตี้” (Heavy Duty) และ “ซูเปอร์เฮฟวี่ดิวตี้” (Super Heavy Duty) เซลล์ไฟฟ้าแบบนี้สร้างมาจากสารอัลคาไลน์ หรือเรียกว่าถ่านไฟฉายแบบ “อัลคาไลน์” ลักษณะจะเหมือนกับถ่านไฟฉายทั่วๆ ไป แต่อายุการใช้งานจะนานกว่าถ่านไฟฉายธรรมดา
โครงสร้างคือ ตัวถังภายนอกจะเป็นสังกะสี ทำหน้าที่เป็นขั้วลบ ภายในจะมีแท่งคาร์บอนทำหน้าที่เป็นขั้วบวก โดยมีสารเคมีเพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีและก่อให้เกิดประจุไฟฟ้า มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 1.5 โวลต์เป็นมาตรฐาน
นอกจากนี้ ยังมีถ่านไฟฉายแบบใช้งานกับนาฬิกาควอตซ์ กล้องถ่ายรูป เครื่องคิดเลข เกมกด ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ถ่านแบบ “กระดุม” ถ่านไฟฉายแบบนี้จะมีชนิดเมอร์คิวรี่ออกไซด์ ชนิดลิเธียม ชนิดนิเกล-แคดเมียม เป็นต้น

การใช้ถ่านไฟฉายให้ถูกวิธี

  1. เปลี่ยนถ่านพร้อมกันทุกก้อนในคราวเดียวกัน ไม่ปะปนกับถ่านเก่า
  2. ปิดสวิตช์อุปกรณ์ทุกครั้งหลังการใช้งานอย่าเปิดค้างไว้โดยไม่จำเป็น
  3. ไม่ควรนำถ่านหลายชนิดหรือหลายยี่ห้อมาใช้ปะปนกัน
  4. นำถ่านออกจากอุปกรณ์ทุกครั้งหลังการใช้งาน
  5. ตรวจสอบวิธีการใส่ถ่านและขั้วให้ถูกต้องเสมอ
  6. ไม่แกะชิ้นส่วนถ่านออกมาเล่นและไม่ควรวางไว้ในที่ที่มีความร้อนสูง
  7. หลีกเลี่ยงการทำให้ถ่านเกิดการชอร์ตกัน
  8. ห้ามนำถ่านที่ชาร์ตไฟไม่ได้มาชาร์ตไฟใหม่ เพราะอาจเกิดอันตรายได้ค่ะ

ขั้นตอน ทิ้ง “ถ่านไฟฉาย” ให้ปลอดภัย

  1. เก็บรวบรวมถ่านไฟฉายใช้แล้วไว้ในถุงพลาสติก หรือถุงดำ
  2. เขียนข้อความว่า “ขยะพิษ” หรือ “ถ่านไฟฉาย” ใช้แล้วไว้ข้างถุง เจ้าหน้าที่จะได้จัดเก็บอย่างถูกต้อง
  3. ทิ้งในภาชนะรองรับขยะอันตราย หรือ ทิ้งกับรถขยะของกทม.ตามวันเวลาที่สำนักงานเขตกำหนด
Tags : นนทบุรี , กรุงเทพฯ , ปทุมธานี , สมุทรปราการ , นครปฐม , พระนครศรีอยุธยา , นครสวรรค์ , สุพรรณบุรี , ลพบุรี , สิงห์บุรี , อุทัยธานี , สมุทรสาคร , สมุทรสงคราม , สระบุรี , นครนายก , กาญจนบุรี , ราชบุรี , เพชรบุรี , หัวหิน , ประจวบคีรีขันธ์ , ชุมพร , ระนอง , นครศรีธรรมราช , ภูเก็ต , พังงา , กระบี่ , พัทลุง , สุราษฎร์ธานี , เกาะสมุย , ตรัง , สตูล , สงขลา , เชียงใหม่ , เชียงราย , ลำปาง , ลำพูน , แม่ฮ่องสอน , น่าน , แพร่ , พะเยา , อุตรดิตถ์ , เพชรบูรณ์ , พิษณุโลก , กำแพงเพชร , สุโขทัย , ตาก , แม่สอด , ชลบุรี , พัทยา , ระยอง , จันทบุรี , ตราด , ฉะเชิงเทรา , นครราชสีมา , ชัยภูมิ , ขอนแก่น , เลย , อุบลราชธานี , ร้อยเอ็ด , อุดรธานี , หนองคาย , สกลนคร , มหาสารคาม , มุกดาหาร , นครพนม , สระแก้ว , สุรินทร์ , บุรีรัมย์ , ศรีสะเกษ , ปราจีนบุรี , กาฬสินธุ์ ,
Copyright 2020 Enrich Hotel Products Co.,Ltd. All Rights Reserved.

ถ่านไฟฉายมีกี่ชนิด กี่ขนาด การใช้ถ่าน และวิธีการทิ้งที่ถูกต้อง

ถ่านไฟฉายมีกี่ชนิด กี่ขนาด การใช้ถ่าน และวิธีการทิ้งที่ถูกต้อง

ถ่านไฟฉายมีกี่ชนิด กี่ขนาด การใช้ถ่าน และวิธีการทิ้งที่ถูกต้อง

ถ่านไฟฉายมีกี่ชนิด

แบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉาย เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดพลังงานไฟฟ้าตัวเอง เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีที่บรรจุอยู่ภายในตัวแบตเตอรี่นั่นๆ พลังงานไฟฟ้าที่ได้คือ ไฟฟ้ากระแสตรง ทำให้นิยมนำไปใช้ประโยชน์กับอุปกรณ์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กสามารถพกพาได้ เช่น ไฟฉาย หรือ ไฟฉายติดผนัง นาฬิกา เครื่องคิดเลข กล้องถ่ายรูป ของเล่นสำหรับเด็ก เป็นต้น

แล้วถ่านไฟฉายมีกี่ชนิดกันครับ

  1. ถ่านไฟฉายประเภทชนิดคาบอน-สังกะสี ถ่านประเภทนี้ใช้กันมายาวนานตั้งแต่ปี 2443 ให้กระแสไฟฟ้าโดยปฏิกิริยาทางเคมีซึ่งมีสังกะสีเป็นขั้วลบ ส่วนขั้วบวกเป็นผลผสมของแมงกานีสไดออกไซด์กับวัสดุอื่นๆ เป็นถ่านไฟฉายที่มีอายุการใช้งานสั้น และให้กระแสไฟฟ้าน้อยมักจะเสื่อมสภาพได้โดยง่าย แต่ข้อดีคือ หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง
  2. แบตเตอรี่ชนิดอัลคาไลน์ พัฒนาเพื่อใช้กับงานที่ต้องการกระแสไฟฟ้าสูง ถ่านไฟฉายชนิดนี้จะมีอายุการใช้งานเป็น 10 เท่าของถ่านไฟฉายธรรมดา เวลาพลังงานที่มีใกล้จะหมด มันจะค่อยๆ หรี่ลงทีละนิดๆ ทำให้เรารู้ได้ว่าใกล้เวลาที่แบตเตอรี่จะหมดแล้ว แต่ข้อเสียคืออัลคาไลน์ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในบริเวณที่อากาศ หนาวเย็น
  3. 3. แบตเตอรี่ชนิดปรอทออกไซด์ แบตเตอรี่ชนิดสังกะสีกับปรอทออกไซด์ให้ระดับพลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่แบบคาร์บอน-สังกะสี และแบบเตอรี่แบบอัลคาไลน์ นอกจากนี้ ร้อยละ 80-90 ของสารต่างๆ ที่บรรจุในแบเตอรี่ชนิดนี้จะทำปฏิกิริยาให้พลังงานไฟฟ้าได้ตลอดอายุขัยของแบตเตอรี่
  4. แบตเตอรี่ชนิดเงินออกไซด์ มีคุณสมบัติเหมือนแบตเตอรี่ชนิดปรอทออกไซด์ แต่สามารถทำงานได้ในอุณหภูมิต่ำได้ดีกว่าและให้ความต่างศักย์สูงถึง 1.5 โวลต์ (ปรอทออกไซด์ให้ 1.35 โวลต์) เนื่องจากมีราคาที่ค่อนข้างสูง จึงมีผลิตเป็นแบบเม็ดกระดุมเท่านั้น
  5. แบตเตอรี่ชนิดลิเธียม โดยทงทฤษฎีธาตุลิเทียม มีระดับพลังงานสูงที่สุด เมื่อเทียบกับโลหะอื่นๆ ดังนั้แบตเตอรี่ที่ใช้กระแสไฟฟ้า โดยปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างขั้วคาโทดที่เป็นลิเธียม กับคาโทดอะรก็ตามจะเป็นแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานนานที่สุด น้ำหนักเบา และสามารถใช้ในสภาพอากาศหนาวเย็นมากๆ ถึงขนาดติดลบได้โดยประสิทธิภาพแทบจะไม่ลดลงเลย แต่ลิเธียมก็มีราคาแพงกว่าอัลคาไลน์พอสมควร และเมื่อใช้จนแบตเตอรี่หมดแล้วมันก็จะดับทันทีโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้าเลย
  6. แบตเตอรี่ชนิดอัดไฟซ้ำได้ (ชนิดนิเกิล-แคดเมียม) ผลิตออกมาเหมือนถ่านไฟฉายทั่วไป ราคาอาจจะดูแพงหากซื้อในครั้งแรก แต่ในระยะยาวแล้วจะคุ้มกว่ามาก เพราะสามารถรีชาร์จใหม่ได้หลายครั้งมาก บางก้อนอาจจะรีชาร์จใหม่ได้นับ 1,000 ครั้ง แต่ว่าในการชาร์จแต่ละครั้งก็อาจไม่สามารถใช้งานได้นานเท่าอัลคาไลน์หนึ่ง ก้อน และบางครั้งประสิทธิภาพอาจจะลดหย่อนไปบ้างในการชาร์จแต่ละครั้ง แต่ก็มีอายุการใช้งานยืนยาวมาก ในปัจจุบันมีเครื่องชาร์จพลังแสงอาทิตย์ที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาจำหน่าย แล้ว ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการนำติดตัวไปเที่ยวด้วย

ถ่านไฟฉายที่นิยมใช้กันในบ้านเรามีหลายขนาดด้วยกัน ได้แก่

  •  D เป็นถ่านไฟฉาย ขนาดใหญ่สุด เส้นผ่าศูนย์กลาง x ความสูง คือ 33 x 60 ม.ม.
  • C เรียกว่า ขนาดกลาง มีขนาด 25.8 x 50 ม.ม.
  • AA ขนาดเล็ก มีขนาด 1.5 – 14.5 x 51 ม.ม.
  • AAA ขนาดเล็กจิ๋ว มีขนาด 10.5 x 44.5 ม.ม.
  • AAAA ขนาดเล็กจิ๋วหลิว หาซื้อยากและมีราคาแพง มีขนาด 8.3 x 2.5 ม.ม.

ถ่านไฟฉายชนิดพิเศษผลิตออกมาเพื่อความสะดวกกับสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ และเก็บประจุไว้ได้นาน เช่น ถ่านไฟฉาย “เฮฟวีดิวตี้” (Heavy Duty) และ “ซูเปอร์เฮฟวี่ดิวตี้” (Super Heavy Duty) เซลล์ไฟฟ้าแบบนี้สร้างมาจากสารอัลคาไลน์ หรือเรียกว่าถ่านไฟฉายแบบ “อัลคาไลน์” ลักษณะจะเหมือนกับถ่านไฟฉายทั่วๆ ไป แต่อายุการใช้งานจะนานกว่าถ่านไฟฉายธรรมดา
โครงสร้างคือ ตัวถังภายนอกจะเป็นสังกะสี ทำหน้าที่เป็นขั้วลบ ภายในจะมีแท่งคาร์บอนทำหน้าที่เป็นขั้วบวก โดยมีสารเคมีเพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีและก่อให้เกิดประจุไฟฟ้า มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 1.5 โวลต์เป็นมาตรฐาน
นอกจากนี้ ยังมีถ่านไฟฉายแบบใช้งานกับนาฬิกาควอตซ์ กล้องถ่ายรูป เครื่องคิดเลข เกมกด ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ถ่านแบบ “กระดุม” ถ่านไฟฉายแบบนี้จะมีชนิดเมอร์คิวรี่ออกไซด์ ชนิดลิเธียม ชนิดนิเกล-แคดเมียม เป็นต้น

การใช้ถ่านไฟฉายให้ถูกวิธี

  1. เปลี่ยนถ่านพร้อมกันทุกก้อนในคราวเดียวกัน ไม่ปะปนกับถ่านเก่า
  2. ปิดสวิตช์อุปกรณ์ทุกครั้งหลังการใช้งานอย่าเปิดค้างไว้โดยไม่จำเป็น
  3. ไม่ควรนำถ่านหลายชนิดหรือหลายยี่ห้อมาใช้ปะปนกัน
  4. นำถ่านออกจากอุปกรณ์ทุกครั้งหลังการใช้งาน
  5. ตรวจสอบวิธีการใส่ถ่านและขั้วให้ถูกต้องเสมอ
  6. ไม่แกะชิ้นส่วนถ่านออกมาเล่นและไม่ควรวางไว้ในที่ที่มีความร้อนสูง
  7. หลีกเลี่ยงการทำให้ถ่านเกิดการชอร์ตกัน
  8. ห้ามนำถ่านที่ชาร์ตไฟไม่ได้มาชาร์ตไฟใหม่ เพราะอาจเกิดอันตรายได้ค่ะ

ขั้นตอน ทิ้ง “ถ่านไฟฉาย” ให้ปลอดภัย

  1. เก็บรวบรวมถ่านไฟฉายใช้แล้วไว้ในถุงพลาสติก หรือถุงดำ
  2. เขียนข้อความว่า “ขยะพิษ” หรือ “ถ่านไฟฉาย” ใช้แล้วไว้ข้างถุง เจ้าหน้าที่จะได้จัดเก็บอย่างถูกต้อง
  3. ทิ้งในภาชนะรองรับขยะอันตราย หรือ ทิ้งกับรถขยะของกทม.ตามวันเวลาที่สำนักงานเขตกำหนด
บริษัท เอนริช โฮเต็ล โปรดักส์ จำกัด
ถนนรัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ
อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
เบอร์โทร : (02) 589 5477-8, (02) 589 6698
108/101 ม.5 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ต.รัษฎา
อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000