แอลกอฮอล์ เป็นสารชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ (antimicrobial agent) โดยสามารถฆ่า (microbicide) หรือหยุดยั้งการเจริญเติบโต (microbiostasis) ของเชื้อได้ แอลกอฮอล์มีสามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย (disinfectant) และไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์บนพื้นผิวสิ่งของต่าง ๆ ที่ไม่มีชีวิต เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ
ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์มีมากมีหลายรูปแบบ และมีวัตถประสงค์การใช้งานแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทการจดแจ้งของผลิตภัณฑ์ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดังนี้
เจลล้างมือ สเปรย์แอลกอฮอล์ หรือผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดมือแบบไม่ต้องล้างน้ำออก มีทั้งชนิดเจล ของเหลว และสเปรย์ จัดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางควบคุม มีส่วนประกอบสำคัญคือ แอลกอฮอล์ (alcohol) ในปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 70
การออกฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะไปยับยั้งการเจริญของเซลล์แบคทีเรียหลากหลายชนิด รวมถึง ไวรัส และเชื้อรา จึงนิยมใช้ในการฆ่าเชื้อผิวหนังและพื้นผิวทั่วไป
โดยนิยมใช้สารละลายแอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้น 70% เนื่องจากระเหยไม่เร็วเกินไปและมีปริมาณน้ำเพียงพอที่จุลินทรีย์จะดูดซึม และออกฤทธิ์ท้าลายเซลล์ ขณะที่แอลกอฮอล์ 95% - 100% จะมีการระเหยรวดเร็วมากและมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอที่จะดูดซึมเข้าไปในเซลล์เมมเบรน แต่จะท้าให้เกิดการคายน้ำ ออกจากเซลล์อย่างรวดเร็วโดยไม่ได้ฆ่า และเมื่ออยู่ในสภาวะเหมาะสม จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับน้ำเข้าเซลล์ จะสามารถคงสภาพเดิมได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า 50% จะมีประสิทธิภาพในการท้าลายจุลินทรีย์ลดน้อยลงมาก
การใช้ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอลล์น้ำ
1. หากใช้เป็นครั้งแรกควรทดสอบการแพ้ก่อน โดยการทาผลิตภัณฑ์ปริมาณเล็กน้อยที่บริเวณท้องแขนและทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง สังเกตความผิดปกติ ได้แก่ ผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน บวม
2. เทผลิตภัณฑ์เจลล้างมือ 2-3 มิลลิลิตร ใส่ลงในฝ่ามือ ถูให้ทั่วทั้งสองมือเป็นเวลาประมาณ 20 วินาที และปล่อยให้แห้งในอากาศ
3. ควรเก็บผลิตภัณฑ์เจลล้างมือในภาชนะปิดสนิท ในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดด หรือบริเวณที่ร้อน เพราะจะท้าให้แอลกอฮอล์ระเหย และความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อาจลดลงได้
ข้อควรระวัง
1. เจลล้างมือ มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ในปริมาณมาก สามารถติดไฟไดหากทามือแล้ว ยังไม่แห้ง ควรหลีกเลี่ยงเปลวไฟ โดยเฉพาะ ผู้สูบบุหรี่ ควรระวังเป็นพิเศษ
2. ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์เจลล้างมือกับเด็กทารก และบริเวณผิวบอบบาง เช่น รอบดวงตา และบริเวณที่ผิวอักเสบ มีสิว มีบาดแผล หากสัมผัสแอลกอฮอล์บ่อยๆ อาจท้าให้เกิด การระคายเคือง และผิวหยาบกระด้าง
ที่มา: ผลิตภัณฑ์เจลล้างมือ. สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.
แอลกอฮอล์ เป็นสารชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ (antimicrobial agent) โดยสามารถฆ่า (microbicide) หรือหยุดยั้งการเจริญเติบโต (microbiostasis) ของเชื้อได้ แอลกอฮอล์มีสามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย (disinfectant) และไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์บนพื้นผิวสิ่งของต่าง ๆ ที่ไม่มีชีวิต เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ
ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์มีมากมีหลายรูปแบบ และมีวัตถประสงค์การใช้งานแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทการจดแจ้งของผลิตภัณฑ์ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดังนี้
เจลล้างมือ สเปรย์แอลกอฮอล์ หรือผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดมือแบบไม่ต้องล้างน้ำออก มีทั้งชนิดเจล ของเหลว และสเปรย์ จัดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางควบคุม มีส่วนประกอบสำคัญคือ แอลกอฮอล์ (alcohol) ในปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 70
การออกฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะไปยับยั้งการเจริญของเซลล์แบคทีเรียหลากหลายชนิด รวมถึง ไวรัส และเชื้อรา จึงนิยมใช้ในการฆ่าเชื้อผิวหนังและพื้นผิวทั่วไป
โดยนิยมใช้สารละลายแอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้น 70% เนื่องจากระเหยไม่เร็วเกินไปและมีปริมาณน้ำเพียงพอที่จุลินทรีย์จะดูดซึม และออกฤทธิ์ท้าลายเซลล์ ขณะที่แอลกอฮอล์ 95% - 100% จะมีการระเหยรวดเร็วมากและมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอที่จะดูดซึมเข้าไปในเซลล์เมมเบรน แต่จะท้าให้เกิดการคายน้ำ ออกจากเซลล์อย่างรวดเร็วโดยไม่ได้ฆ่า และเมื่ออยู่ในสภาวะเหมาะสม จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับน้ำเข้าเซลล์ จะสามารถคงสภาพเดิมได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า 50% จะมีประสิทธิภาพในการท้าลายจุลินทรีย์ลดน้อยลงมาก
การใช้ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอลล์น้ำ
1. หากใช้เป็นครั้งแรกควรทดสอบการแพ้ก่อน โดยการทาผลิตภัณฑ์ปริมาณเล็กน้อยที่บริเวณท้องแขนและทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง สังเกตความผิดปกติ ได้แก่ ผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน บวม
2. เทผลิตภัณฑ์เจลล้างมือ 2-3 มิลลิลิตร ใส่ลงในฝ่ามือ ถูให้ทั่วทั้งสองมือเป็นเวลาประมาณ 20 วินาที และปล่อยให้แห้งในอากาศ
3. ควรเก็บผลิตภัณฑ์เจลล้างมือในภาชนะปิดสนิท ในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดด หรือบริเวณที่ร้อน เพราะจะท้าให้แอลกอฮอล์ระเหย และความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อาจลดลงได้
ข้อควรระวัง
1. เจลล้างมือ มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ในปริมาณมาก สามารถติดไฟไดหากทามือแล้ว ยังไม่แห้ง ควรหลีกเลี่ยงเปลวไฟ โดยเฉพาะ ผู้สูบบุหรี่ ควรระวังเป็นพิเศษ
2. ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์เจลล้างมือกับเด็กทารก และบริเวณผิวบอบบาง เช่น รอบดวงตา และบริเวณที่ผิวอักเสบ มีสิว มีบาดแผล หากสัมผัสแอลกอฮอล์บ่อยๆ อาจท้าให้เกิด การระคายเคือง และผิวหยาบกระด้าง
ที่มา: ผลิตภัณฑ์เจลล้างมือ. สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.